1.การมาของ CPU 8 Core และ 64 bit
ในช่วงปี 2012 -2013 เราจะเห็นผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่สร้างจุดขายโดยปะที่หน้ากล่องโทรศัพท์ตัวใหญ่
ๆ เป็น Dual Core บ้าง Quad Core บ้าง
แล้วทำไมต้องพูดกันเรื่องของจำนวน Core
ถ้าให้อธิบายความแตกต่างของจำนวน Core ก็ให้ลองนึกภาพตามว่า งานหนึ่งชิ้นหนึ่งคนทำงานจะใช้เวลา 8 ชั่วโมง ถ้าใช้สองคนทำงานชิ้นเดียวกันก็จะเหลือ 4 ชั่วโมง
แล้วถ้าใช้สี่คนทำก็จะเหลือ 2 ชั่วโมง
พอนึกภาพออกแล้วใช่มั้ยครับคือ ยิ่งจำนวน Core มากก็ยิ่งทำงานได้เร็วขึ้น
โทรศัพท์ที่ขายในปี 2012 โดยมากแล้วถ้าเป็นเครื่องรุ่นกลางขึ้นมาจะถูกเอาไว้ว่าเป็น
Dual Core จนถึง Quad Core
แต่อย่างไรก็ดีอย่างที่โทรศัพท์ที่ขายในไทยตอนนี้มีรุ่นที่เป็น
8 Core แล้วซึ่งเรียกว่า Octa Core อย่าง
Exynos 5 จากค่าย Samsung แต่อย่างไรก็ดีในการทำงานจริงก็ยังเป็นการทำงานครั้งละ
4 Core โดยแบ่งหน้าที่การทำงานของแต่ละส่วนเพื่อการประหยัดพลังงาน
โดยซีกหนึ่งเพื่อใช้งานทั่วไป อีกซีกหนึ่งจะถูกใช้เพื่อการประมวลผลที่ใช้การประมวลผลความเร็วสูงเช่นเล่นเกมส์
การถ่ายวิดีโอความเร็วสูง เหตุผลที่แบ่งการทำงานแบบนี้เพราะเรื่องของการประหยัดพลังงาน
ในปี 2014 ก็มีความเป็นไปได้ว่าเราจะได้เห็น
CPU 4 Core เหมือนเดิมที่เพิ่มความสามารถขึ้นอย่างเช่น Snapdragon
805 จากค่าย Qualcomm ที่มากับความสามรถในการประมวลผล
เพื่อถ่ายวิดีโอความละเอียดสูงระดับ Ultra HD [4K] สำหรับโทรทัศน์ที่รองรับความละเอียดระดับ
Ultra HD [4K] TVs ซึ่งตอนนี้ Snapdragon เป็น CPU ตัวเดียวที่มีความสามารถระดับนี้ และที่ประกาศตามมาคือ
CPU 6 Core ที่ค่าย Samsung ประกาศตัวว่าจะนำมาใช้กับ
Galaxy รุ่นเรือธงคือ Exynos 6 ที่จะเป็น
64 bit คล้ายกับ A7 ที่อยู่ใน iPhone
5S โดยปรากฏตัวอยู่ใน Samsung Galaxy S5
ในอีกฟากหนึ่งของผู้ผลิต CPU สำหรับเครื่องตลาดกลางอย่างค่าย Mediatek ก็ประกาศทุบโต๊ะดังเปรี้ยงว่าตัวเองพร้อมแล้วกับการผลิต
CPU 8 Core แท้ ๆ โดยจะมาพร้อมกับโทรศัพท์รุ่นใหม่ที่มาพร้อมกับ
Android ที่เป็น Kitkat มาจากโรงงาน
ซึ่งมีคำแนะนำสั้น ๆ ว่า ถ้าจะดูโทรศัพท์รุ่นใหญ่ในปี
2014 ถ้าเป็น Snapdragon ก็ควรจะมองที่เป็น Snapdragon 800 ขึ้นไป เพราะช่วงปลายปีก็มีโทรศัพท์ตัวใหญ่
แต่ใช้ CPU Snapdragon ตัวรองลงมาแต่ราคาขายเท่าชาวบ้าน
ซึ่งดูไม่คุ้มค่าเท่าไร ส่วน Exynos ก็มี Samsung ค่ายเดียวอยู่แล้ว คงไม่ต้องสังเกตอะไรมาก ส่วน Mediatek คงจะอยู่ในเครื่องจากฝั่งจีนหรือไต้หวันที่ทำมา
เพื่อเน้นความคุ้มค่าคุ้มราคาในราคาพอคบหาต่อไป
ส่วนทางค่าย intel ซึ่งเพิ่งกระโดดเข้ามาสู่สังเวียน
Mobile ในช่วงนี้ยังไม่มีแผนประกาศออกมาแบบชัด ๆ ว่าปี 2014
จะงัดอะไรมาสู้กับคู่แข่ง เพราะปี 2013 เป็นปีที่
intel กระโดดเข้าสู่ตลาดแบบชิมลาง
ในเมื่อ CPU แรงขนาดนี้ Android
มาตรฐานโดยทั่วไป ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา จะเป็น Android รุ่น Jelly Bean เป็นอย่างต่ำ
ส่วนเครื่องรุ่นบนก็ควรจะเป็น kitkat หรือมีแวว
มีแผนที่จะอัปเกรดได้ เว้นแต่รุ่นเล็กจริง ๆ ที่อาจจะเป็น Ice Cream
Sandwich ต่อไป
หน้าจอโทรศัพท์กับการแข่งขันที่ยังไม่สุดทาง
การแข่งขันการทำโทรศัพท์สักหนึ่งรุ่นเรื่องความละเอียดของหน้าจอ
และขนาดของหน้าจอก็เป็นเรื่อที่แทบจะตีคู่กัน
เพราะเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้ใช้มักจะให้ความสนใจในลำดับต้น ๆ
ในปี 2014 หลังจากที่ผู้บริโภคในตลาดเรียนรู้
และมีความเข้าใจในขนาดของหน้าจอนี้แล้ว คงยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าไหร่
โดยขนาดหน้าจอโทรศัพท์ขนาดใหญ่ยังคงเป็นจุดขายต่อไป แต่โดยเฉลี่ยก็จะแบ่งเป็นขนาดหลัก
ๆ ได้คือ 4 นิ้ว 5 นิ้ว และ 6 นิ้ว ซึ่งมีศัพท์เรียกว่า Phablet ที่มาจาก Phone
+ Tablet ถ้าเป็นโทรศัพท์รุ่นเรือธงหน้าจอจะอยู่ที่ 4.7 นิ้วขึ้นไป ในฐานะของ Stylish Phone จนถึง 5 นิ้วกว่า ๆ ก่อนที่จะขยับขึ้นไปในขนาดหน้าจอที่ใหญ่กว่าในฐานะของการเป็น Phablet แต่ที่สำคัญมากกว่าขนาดหน้าจอคือ
เรื่องของความละเอียดที่แม้กระทั่งโทรศัพท์ขนาดกลางจนถึงต่ำกว่าหมื่นที่เป็นเฮาส์แบรนด์
ก็เริ่มโฆษณาแล้วว่าความคมชัดระดับ HD มาตรฐานความละเอียดของหน้าจอปี
2014 นี้อยู่ที่เท่าไหร่ ? อย่าง Samsung Galaxy S4 อยู่ที่ 1080 x 1920 pixel [411 ppi], HTC One อยู่ที่
1080 x 1920 pixel [538 ppi], LG G2 อยู่ที่ 1080 x
1920 pixel [423 ppi]
ppi นี้หมายถึง pixel per inch คือจำนวนเม็ดพิกเซลต่อหนึ่งตารางนิ้ว ยิ่งเยอะยิ่งละเอียด อย่าง LG
ก็ออกตัวว่าโทรศัพท์รุ่นต่อไปของตัวเองจะขยับขึ้นไปที่ 538
ppi หรือทางฝั่ง Samsung หน้าจอของ Samsung
Galaxy S5 อยู่ที่ 2560 x 1440 pixel WQHD
2.บอกตัวตนให้โลกเห็นพฤติกรรมคนยุค Selfie
Selfie เป็นคำที่นักการตลาดใช้เรียกพฤติกรรมรุ่นใหม่ที่มักใช้กล้องถ่ายหน้าตัวเอง
แล้วส่งต่อไปยังโลก Social ตื่นมาก็โพสต์ กินข้าวก็โพสต์
แม้กระทั่งจะนอนยังโพสต์ แรกเริ่มเดิมทีกล้องหน้าของโทรศัพท์มีไว้สำหรับคุย VDO
Call เท่านั้น แต่การใช้งานจริงก็นิยมเอาไปถ่ายรูปตัวเองกันเสียมากกว่า
จนกระทั่งมีแพพลิเคชันที่ช่วยให้ผิวหน้าเนียนได้รับความนิยม
ทำให้ค่ายโทรศัพท์เริ่มใส่ Beauty Mode เข้ามา
จากนั้นก็เลยเป็นช่องทางของโทรศัพท์รุ่นใหม่ที่ใส่กล้องที่ความละเอียดสูงมาให้
มีแฟลชลบเงาสำหรับการถ่ายตัวเองในสภาพย้อนแสง ไม่ให้หน้ามืด
หรือแม้กระทั่งกล้องที่หมุนมาหาตัวเองได้อย่าง Oppo N1 ซึ่งในปี
2014 ก็คงจะเห็นการพัฒนาการ และการแข่งขันเรื่องนี้เยอะขึ้น
3.OIS โทรศัพท์รุ่นใหญ่ถ่ายภาพต้องไม่สั่น
เคยรู้สึกเบื่อตัวเองว่าหันหน้าไปหน่ายเพื่อนบ้างมั้ยครับ
ที่คว้าโทรศัพท์ขึ้นมาถ่ายแล้วทำไมเบลอเหมือนเจอผี อย่าเพิ่งไปโทษว่ามีพลังงานบางอย่างมาอยู่ใกล้บริเวณนั้น
จริง ๆ มันอยู่ที่ความสามารถของกล้อง และเทคโนโลยีเรื่องของฮาร์ดแวร์
ผู้พัฒนาโทรศัพท์เขาก็เลยใส่เทคโนโลยีที่เรียกว่า
OIS โดย OIS นั้นย่อมาจาก Optical
image stabilization ซึ่งในแวดวงโทรศัพท์เคลื่อนที่ตอนนี้ก็เริ่มมีใส่เข้ามา
ในระดับเรือธงจะเรียกแตกต่างกันไปตามชื่อทางการค้าของแบรนด์อย่าง IS,
Steady Shot, PureView, Ultra Pixel หรืออะไรก็ตามแต่ชื่อเรียกทางการค้า
แต่เบื้องหลังจริง ๆ ก็คือโมดูลที่อยู่ในกล้องแบบนี้หละครับ
เบื้องหลังของ OIS จะมี 2
แบบคือ ใช้ซอฟท์แวร์ช่วยในการทำงาน ซึ่งจะคำนวณเอาส่วนที่สั่นไหวออกแต่แลกกับภาพที่ชัดน้อยลง
กับใช้เป็นฮาร์ดแวร์ที่ไจโรสโคป ช่วยในการปรับมุมของเลนส์แบบต้านการสั่นไหวเมื่อมีการหมุนของมือซึ่งอุปกรณ์นี้มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบการสั่นไหวแบบดิจิตอล
ดังนั้นถ้าจะซื้อโทรศัพท์รุ่นเรือธงปี 2014 อย่าดูแค่กี่ Pixel
ลองดูด้วยว่ามี OIS หรือเปล่า
4.Wearable Tech และ Lifelogging เมื่อโทรศัพท์มือถือกลายเป็นคู่คิดเกาะติดการใช้ชีวิต
Wearables Tech หรือ Wearables Computer ถ้าพูดคำนี้แบบโดด ๆ อาจจะยังไม่คุ้นเท่าไหร่ แต่ถ้าบอกตัวอย่างเช่นนาฬิกาอัจฉริยะอย่างที่
Sony หรือว่า Samsung ทำออกมาขายนี่ล่ะคือ
Wearables Computer พอจะคุ้นเคยกันมากขึ้นบ้างมั้ยครับ
สิ่งที่เรารับรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์นี้ คือการแจ้งเตือนจากโทรศัพท์ การยกขึ้นมาคุย
การถ่ายภาพ
แต่ในปี 2014 โทรศัพท์มือถือจะถูกใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์เสริม
เพื่อการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ แล้วกลับไปคำนวณข้อมูลที่ได้มาเช่น การออกกำลังกาย
การนอนหลับแม้กระทั่งการกินอาหารในแต่ละวัน จริง ๆ
แล้วอุปกรณ์เหล่านี้ก็เริ่มมีขายบ้างแล้ว แต่ยังจำกัดอยู่ในแวดวงแคบ ๆ
และมีราคาค่อนข้องสูงอยู่
5.4G LTE บนคลื่น 1800
อันนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องที่รู้กันในวงกว้างมากนัก
คือ สัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จัดสรรให้เอกชนได้นำไปให้บริการประชาชนนั้น
สัมปทานหมดอายุไปแล้ว แต่ที่ใช้กันได้จนตอนนี้คือทาง กสทช.ก็จะต้องดึงคลื่นนี้กลับมาทำการจัดสรรต่อไป
โดยมีความคิดว่าจะนำไปใช้ในการทำ 4G LTE หลังจากที่โอเปอเรเตอร์มีการทดลองไปบ้างแล้ว
ทำไมต้อง 4G ? เพราะ 3G
ความเร็วมันยังไม่พอ และหนาแน่นมาก จึงต้องมีพื้นที่ให้บริการ 4G
เพื่อที่จะเอามารองรับปริมาณความต้องการ Data ที่มากขึ้นในพื้นที่ที่หนาแน่น
ฉะนั้นเครื่องที่รองรับคลื่น 1800 MHz และ LTE ก็จะเป็นปัจจัยที่นำมาพิจารณา
อย่างถ้าเราดูสเปกของ LG Nexus 5 ก็สังเกตบรรทัดนี้ LTE 800 / 850 / 900 / 1800 / 2100 / 2600 ให้เพ่งสายตาไปที่ 1800 + 2100 แบบนี้ใช้ได้ทั้ง LTE
ของ True และจะเป็นที่ตามมาของโอเปอเรเตอร์อื่น
ๆ ในอนาคต
6.แนวโน้มของ NFC ใช้จริงง่ายขึ้น และราคาที่ถูกลง
NFC เป็นเทคโนโลยีที่จะถูกรวมเข้ากับโทรศัพท์มือถือ
โดยมีหน้าที่ช่วยให้ผู้บริโภครับส่งข้อมูลง่ายขึ้น เพียงวางสมาร์ทโฟนใกล้หรือติดกับวัตถุ
เช่น การชำระเงิน หรือบนโปสเตอร์ บนสติ๊กเกอร์ที่เตรียมเป็นพิเศษ
หรือแม้กระทั่งการอ่านแท็กสติ๊กเกอร์ NFC
เพื่อการเรื่องแสดงผล หรือว่ากำหนดโปรไฟล์ เพื่อการใช้งานโทรศัพท์
รวมไปถึงการส่งข้อมูลระหว่างกัน แบบ P2P [Peer-to-Peer] เช่น
การส่งรูป การเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ การส่งต่อแผนที่
หรือแม้กระทั่งเชื่อมต่อจับคู่กับกับอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น ลำโพงไร้สาย, หูฟัง
ศักยภาพของ NFC ได้เริ่มถูกใช้ในไทย
เช่น AIS mPay Rabit โดยกลุ่มนำร่องจะเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต
ร้านค้าแนวไลฟ์สไตล์ที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จำนวนผู้ใช้ NFC มีตัวเลขที่น่าสนใจคือ อย่างในประเทศฝรั่งเศสมีโทรศัพท์ที่รองรับ NFC
แล้ว 2.5 ล้านเครื่อง หรือในประเทศเกาหลีมีผู้ใช้โทรศัพท์จำนวน
40 % ที่ใช้สมาร์ทโฟนมี NFC ยิ่งในตอนนี้โทรศัพท์ที่มี
NFC แล้วราคาเครื่องถูกที่สุดอยู่ที่ 5,000 กว่าบาท ถ้าใครมองหาโทรศัพท์ในปี 2014 ก็ลองคิดเผื่อเรื่องนี้ไว้ด้วยก็ดีครับ
เหล่านี้คือภาพรวมแบบคร่าว ๆ ที่น่าจับตาสำหรับเทรนด์ของโทรศัพท์ปี
2014 ในแง่มุมของเทคโนโลยีหลัก
แต่เรื่องของการพัฒนาเครื่องโทรศัพท์ที่จ่อคิวรอออกมายังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีก
จะนำมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น