![]() |
วิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ |
พูดถึงระบบปฏิบัติการบนแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือแล้วที่ใช้หลักๆ มี 4 ระบบปฏิบัติการ คือ iOS ,Android ,Windows Phone และ BlackBerry ในบทความนี้เราจะมาดูกันครับว่าวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ Android ที่มีแบรนด์ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออย่าง Samsung , HTC , LG และอื่นๆ นำไปติดตั้งบนสมาร์ทโฟนของตัวเองขายจนผู้ใช้ตามไม่ทันมีวิวัฒนาการอย่างไร
แอนดรอยด์(Andriod) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ถูกคิดค้นมาเพื่อใช้สำหรับอุปกรณ์พกพา อาทิ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต เน็ตบุค ที่ใช้จอสัมผัส คิดค้นและพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ (Android Inc.) จากนั้นกูเกิลซื้อกิจการและพัฒนาต่อในปี 2548 แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 โดยทางกูเกิลได้ร่วมมือกับกลุ่มบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์ , ซอฟต์แวร์ , และการสื่อสารคมนาคม กว่า 48 แห่ง ในนามของ OHA (Open Handset Alliance) ร่วมมือกันพัฒนา มาตรฐานเปิดสำหรับอุปกรณ์มือถือ เปิดให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่ทางกูเกิลพัฒนาขึ้น
สมาร์ทโฟนเครื่องแรกที่สามารถรันในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ คือ HTC Dream ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.1
รุ่นพัฒนาของแอนดรอยด์จะใช้รหัสซึ่งเป็นชื่อขนมหวานโดยมีตัวอักษรขึ้นต้นเรียงลำดับกัน เรามาดูทีละเวอร์ชั่นของแอนดรอยด์ว่ามีวิวัฒนาการเป็นอย่างไร แล้วปัจจุบันมันไปถึงเวอร์ชั่นไหนแล้ว
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.0
ในรุ่นนี้ยังไม่ชื่อเล่น(หากมีจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A) ออกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.1
ก็ยังไม่มีชื่อเล่นอีก(หากมีชื่อเล่นจะต้องขึ้นต้นด้วยอักษร B) ออกเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 เป็นรุ่นที่พัฒนาแก้ไขบั๊ก (Bug) ของเวอร์ชั่นก่อนหน้าคือเวอร์ชั่น 1.0 โดยรุ่นนี้เป็นรุ่นที่นำไปติดตั้งในสมาร์ทโฟนเครื่องแรกคือ HIC Dream (G1)
แอนดรอยด์เวอร์ชั่น 1.5
มีชื่อเล่นว่าคัพเค๊ก (Cupcake) ออกเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นรุ่นที่ถูกผลิตเพื่อการค้าอย่างเต็มรูปแบบ โดยรุ่นนี้นำไปติดตั้งในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของตนเองพร้อมจำหน่ายทั่วโลกคือ Samsung จากประเทศเกาหลีใต้ โดยนำมาใช้ในเครื่อง Samsung i5700 Spica
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.6
ในรุ่นนี้ใช้ชื่อว่า โดนัท(Donut) ออกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของเวอร์ชั่น 1.5 โดยนำไปติดตั้งในโทรศัพท์หลายรุ่นหลายยี่ห้อและเวอร์ชั่นนี้สามารถจัดให้มีการอัพเกรดออนไลน์ (Over The Air : OTA)
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.0
ใช้ชื่อรุ่นว่า อีเคร์(Eclair) ซึ่งเป็นขนมหวานรูปยาวมีครีมข้างใน ออกเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และบริษัท Motorola ได้นำไปเป็นระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนแบบสไลด์ในรุ่น Milestones ซึ่งมีวางจำหน่ายในประเทศไทยด้วย ผ่านเครือข่าย True
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.2
ในรุ่นมีชื่อเล่นว่า โฟรโย่(Froyo) แปลว่าโยเกิร์ตแช่แข็ง ออกเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 โดยเป็นระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนรุ่น Google Nexus One ซึ่ง Google มอบหมายให้ทางบริษัท HTC เป็นผู้ผลิต
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.3
มีชื่อเล่นว่า จิงเจอร์เบรด (Ginger bread) แปลว่าขนมปังขิง ออกเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2553 เป็นรุ่นที่ถือได้ว่ามีการนำมาติดตั้งไนสมาร์ทโฟนมากที่สุด ความสามารถที่เพิ่มเข้ามาในเวอร์ชั่นนี้จะพิเศษที่ระบบการสื่อสารที่เรียกว่า NFC (Near Field Communication) เป็นระบบการชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์โดยโทรศัพท์ต้องมีอุปกรณ์ที่รองรับ NFC ด้วย เวอร์ชั่นนี้ถูกนำไปติดตั้งบนสมาร์ทโฟน ของ Google เป็นรุ่นที่สองต่อจาก HTC Nexus One แต่ครั้งนี้ใช้ชื่อรุ่นว่า Google Nexus โดยบริษัท Samsung เป็นผู้ผลิตให้
แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 3.0
ใช้ชื่อเล่นว่า ฮันนีคอม (Haney Comb) ออกเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เวอร์ชั่นนี้เป็นรุ่นที่พัฒนาเพื่อใช้กับ Tablet โดยเฉพาะ ถูกติดตั้งเป็นระบบปฏิบัติการในแท็บเล็ต Motorola รุ่น Xoom เป็นรุ่นแรก
แอนดรอยด์ เวอรชั่น 4.0
ในรุ่นนี้ใช้ชื่อเล่นว่า ไอศกรีมแซนวิซ(ICS : Ice Cream Sandwich) ออกเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวอร์ชั่นนี้สามารถใช้งานได้ทั้งในโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต ทำให้ผู้ผลิตเตรียมอัพเกรดอุปกรณ์ของตัวเองเพื่อให้สามารถใช้งานเวอร์ชั่นนี้ได้ โทรศัพท์ที่ได้รับการติดตั้งระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นนี้ได้แก่ Google Galaxy Nexus และแท็บเล็ตเครื่องแรกที่ได้รับการอัพเกรดเป็นเวอร์ชั่นนี้ได้แก่ Asus Transformer Prime
แอนดรอยด์ เวอรชั่น 4.1
มีชื่อเล่นว่าเจลลี่บีน (JB : Jelly Bean) เวอร์ชั่นนี้จะเน้นความเร็วเป็นหลัก เพราะแอนดรอยด์โดนคนดูถูกเรื่องความ อืด ช้า เมื่อเทียบกับ iSO ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า V-Sync adaptation และ triple buffering ที่จะนำคุณเข้าสู่ประสบการณ์เรนเดอร์หน้าจอระดับ 60 เฟรมต่อวินาที (FPS) โดยมีผลิตภัณฑ์ของ Google คือแท็บเล็ต Nexus 7 ที่ผลิตโดยโรงงานของ Asus เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่ได้นำระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่น Jelly Bean นี้ไปติดตั้ง หลังจากนั้นก็ได้เปิดโค้ด (Source Code) ให้กับแบรนด์ผู้ผลิตได้นำไปพัฒนาต่อ
และแอนดรอยด์เวอร์ชั่นต่อไปจะมีชื่อเล่นว่าอะไร จะขึ้นต้นด้วยตัว K หรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น