โครงการในฝันของนักเล่นมือถือทั่วโลก ดูจะใกล้ความจริงมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อ “Motorola” มาอยู่ภายไต้การดูแลของ “Google” และ “Project ARA” ที่โมโตโรล่าซุ่มพัฒนามาเป็นแรมปีก็ได้รับการสานต่อโดยทีมงานระดับสุดยอดของกูเกิล
ที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ แม้ตอนนี้กูเกิลจะขายโมโตโรล่าทิ้งไปให้แบรนด์จีนอย่าง“Lenovo”แล้ว แต่ “ARA” กลับถูกเก็บเอาไว้ แสดงให้เห็นชัดเจนครับว่า Google เอาจรังเอาจังกับสมาร์ทโฟนแบบสั่งตัดมากขนาดใหน!!!!
พอล อีเรเมนโก [Paul Eremenko] หัวหน้าแผนกกลุ่มงานโปรเจคต์และเทคโนโลยี ประกาศชื่อเรียกสมาร์ทโฟนแหวกแนวของกูเกิลในโครงการนี้ ว่า “เกรย์ โฟน” [Gray Phone] บนเวทีงานประชุม Project ARA Developers Conference เมื่อวันที่ 15 - 16 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นงานประชุมนักพัฒนา โดยให้รายละเอียดว่า ที่เรียกว่า เกรย์ โฟน มาจากสีเทาอมเหลืองไร้สีสัน ที่รอให้ผู้ใช้ร่วมกันให้สีและตกแต่งเครื่องตามใจชอบและหลังจากนี่ กูเกิลมีกำหนดจัดงานประชุมนักพัฒนาเพื่อ Project ARA อีกครั้งในเดือนกรกฎาคม และกันยายน ตามลำดับโดยยังไม่มีการประกาศวันจัดงานที่ชัดเจนในขณะนี้
นอกจากนี้ Google ยังเริ่มดึงตัววิศวกรระดับหัวแถวจากแบรนด์ต่าง ๆ มาร่วมพัฒนา คาดว่าภายในปี 2015 เราน่าจะได้เห็นสมาร์ทโฟนสั่งประกอบที่ว่านี้ออกทำตลาดจริงในหลาย ๆ ประเทศ และวันนี้ผู้เขียนก็มีข้อมูลเคร่า ๆ ของโครงการแห่งความฝันมานำเสนอครับ
Project ARA จะมาเมื่อใหร่ ?
Google ประกาศชัดเจนแล้วครับว่า “ARA” ในฐานะสมาร์ทโฟนประกอบได้เองดั่งใจจะเริ่มขายจริงในเดือนใดเดือนหนึ่งของปี 2015 โดยมีรายละเอียดน่าสนใจหลายอย่าง อาทิราคา : มีให้เลือกตั้งแต่ 50 - 500 เหรียญสหรัฐฯ แล้วแต่ว่าเราต้องการสเปกด้านฮาร์ดแวร์แบบใหน ซึ่งถ้าตีเป็นเงินไทยก็คือ 1,500 - 15,000 บาท
ขนาด : คาดว่า ARA จะมีให้เลือกประดิษฐ์กันได้ 3 ขนาดครับ ตั้งแต่แบบจอเล็กสุดประหยัดไปจนถึงจอใหญ่ระดับสมาร์ทโฟนตัวท็อป และจะมีจอใหญ่พิเศษในฐานะลูกครึ่งแทบเล็ตด้วย
ระบบปฏิบัติการ : แน่นอนครับว่าทั้งสามขนาดต้องรันบน “แอนดรอยด์” แต่อาจจะมีการปรับเวอร์ชั่นหรือหน้าตาให้เข้ากับตัวเครื่องเพิ่มเติม
ความทนทาน : ฟังดูน่าเป็นห่วงนิดหน่อยครับกับคำว่า “ประกอบได้เอง” แต่ทางกูเกิลการันตีมาเรียบร้อยแล้วว่า อายุของสมาร์ทโฟนในแบบ “ARA” น่าจะทนกว่ามือถือปกติธรรมดาที่ขายอยู่ในปัจจุบันด้วยซ้ำ เพราะกูเกิลจะเป็นคนจัดการเรื่องตัวเครื่องอย่างดี มีการอัพเกรดซอร์ฟแวร์ระยะยาวคล้ายกับตระกูล “Nexus” และนอกจากนี้เรายังสามารถถอดชิ้นส่วนที่ตกยุคทิ้งไป แล้วใส่สิ่งที่ทันสมัยเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ที่มีค่าสูงกว่า หรือเซ็นเซอร์สำหรับสแกนลายนิ้วมือ
ร้านขายเครื่อง : ยังไม่แน่ชัดนักครับ แต่ทางกูเกิลอาจจะลงมือขายเอง โดยมีตัวเครื่องหลักพร้อมชิ้นส่วนให้ซื้อประกอบครั้งแรกในร้าน จากนั้นลูกค้าสามารถเดินมาซื้อชิ้นส่วนรอง ๆ ทีหลัง เพื่อประกอบร่างใหม่อีกทีได้ตามใจ
ปรับแต่งอะไรได้บ้างใน Project ARA ?
เราได้ยินว่าแบรนด์นั้นแบรนนี้ทำมือถือประกอบร่างมาสักพักใหญ่ แต่พอขายจริง ๆ กลับเป็นแค่มือถือที่เปลี่ยนวัสดุฝาหลังได้ หรือไม่ก็เลือกลายกรอบได้เท่านั้น แต่ “ARA” ของกูเกิลคราวนี้แตกต่างไป เพราะลูกค้าสามารถสั่งประกอบสเปกได้ดั่งใจจริง ๆ จากข้อมูลที่มี สิ่งที่เราเลือกได้มีดังนี้- หน้าจอ เลือกได้ 3 ระดับ คือ 4 นิ้ว, 4.7 นิ้ว และขนาดใหญ่พิเศษสำหรับกลุ่มลูกครึ่งแท็บเล็ต
- แรม
- เสาสัญญาณ 3G / 4G LTE
- หน่วยความจำภายใน
- ลำโพง
- แบตเตอรี่
- ซีพียูและชิปเซ็ท
- กล้องถ่ายภาพและวิดีโอ
หรือก็คือ “ทุกอย่าง” จริง ๆ และถ้าใครไม่อยากได้กล้องก็อาจจะตัดชิ้นส่วนนี้ทิ้งไป แล้วใส่แบตเตอรี่เข้ามา 2 ชุดแทน หรือจะเพิ่มลำโพงเข้าไปเป็น 4 ตัว ตามแต่ใจต้องการ ARA น่าจะโดนใจลูกค้าทุกคนตรงที่เราสามารถกำหนดสเป็กและราคาได้ ทว่าอีกหนึ่งความตั้งใจที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง ARA ก็คือ กูเกิลต้องการลดจำนวนขยะครับ
ทุกวันนี้เราซื้อสมาร์ทโฟนมาใช้แล้วทิ้งในช่วงเวลา 1 - 2 ปี จะดีกว่าใหม...ถ้ามือถือเครื่องหนึ่งมีอายุยาวนานกว่านั้น หรืออาจจะไม่มีวันตกรุ่นแลยก็ได้!!!!! นี่แหละครับ คือ “Project ARA” ในฐานะสมาร์ทโฟนแห่งอนาคตจากกูเกิล
ที่มาและภาพประกอบ : indianexpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น